ข้อมูลแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปี 2559
 
 
 
โครงการ: โครงการเตรียมความพร้อมคนรุ่นใหม่สู่การเป็นผู้ประกอบการ OTOP ประจำปี พ.ศ.2559
กิจกรรม: กิจกรรมที่ 2 เสริมสร้างความรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการ OTOP รุ่นใหม่
งบประมาณ 459,000 บาท   งบ งบปกติ ระบุ
ตอบสนองยุทธศาสตร์กรมฯ : ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์
หน่วยงานรับผิดชอบ : ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี ระยะเวลา :   กุมภาพันธ์ 2559
วัตถุประสงค์ :
กลุ่มเป้าหมาย จำนวน(รุ่น/คน/วัน) 1รุ่น/70คน/5วัน ระบุตำแหน่ง ผู้ประกอบการ OTOP รุ่นใหม่ในพื้นที่ภาคอีสาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. จังหวัดในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชาสัมพันธ์การรับสมัครเยาวชนคนรุ่นใหม่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม ฯ และแจ้งรายชื่อให้กรมการพัฒนาชุมชนคัดเลือก
2. กรม ฯ พิจารณากลั่นกรองรายชื่อ พร้อมรวบรวมรายชื่อแจ้งศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี พร้อมแจ้งประสานมให้เข้ารับการฝึกอบรมตามกิจกรรม ฯ
3. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี ประชุมเตรียมความพร้อม จัดทำหลักสูตรและ จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้พร้อมในด้านต่าง ๆ เช่น วิทยากร เอกสารคู่มือ เครื่องเสียง โดยรูปแบบการฝึกอบรมเป็นระบบค่าย ระบบกลุ่ม ให้เหมาะสมตามสภาพพื้นที่ และประสานความร่วมมือกับ ผู้ทรงคุณวุ
4. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานีดำเนินการจัดฝึกอบรมกิจกรรมเสริมสร้างความรู้สู่การเป็นผู้ประกอบการ OTOP รุ่นใหม่
5. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนอุดรธานี รายงานผลการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบเอกสาร ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนางาน ส่งให้กรม ฯ
ผลการดำเนินงาน
1. เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ด้านการอนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีความรู้ด้านการผลิตสินค้า OTOP และการตลาดเบื้องต้น
3. เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ เพื่อพัฒนาตนเอง สู่การเป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP รุ่นใหม่
4.
5.
ตัวชี้วัด เยาวชนกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 90 มีความรู้ด้านการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผลผลิตที่ได้ : เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีการบันทึกองค์ความรู้ด้านการสืบสานภูมิปัญญาอย่างน้อยคนละ 1 ภูมิปัญญา
ผลลัพธ์ที่ได้ เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถเขียนโครงการ คนละ 1 โครงการ
ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการบริหารโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะทีมวิทยากร เจ้าหน้าที่โครงการ
อุปสรรคต่อการดำเนินงาน
การเดินทางมาเข้ารับการฝึกอบรมของเยาวชนต้องใช้เวลานาน เพราะพื้นที่ห่างไกลสถานที่ฝึกอบรม ขาดการสนับสนุนจากส่วนกลางเกี่ยวกับสื่อประกอบการฝึกอบรม เช่น วีดีทัศน์ สื่อประกอบกิจกรรมเสริม ส่วนกลางไม่มีการเตรียมความพร้อมทีมวิทยากรร่วมกับศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน ทำให้กระบวนการฝึกอบรมบางกิจกรรม อาจจะไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินงานในปีต่อไป
ให้มีการสนับสนุนงบประมาณอย่างต่อเนื่อง พร้อมทบทวนปรับปรุงเนื้อหา/แผนการสอน รายวิชา โดยอาจคงวัตถุประสงค์ไว้ แล้วให้หน่วยดำเนินการ ปรับแผนการสอนหรือกระบวนการฝึกอบรม